top of page
ค้นหา

สารไฟโตแคนนาบินอยด์ และ สารเทอร์ปินอยด์

มีการผลิตสารประกอบทางเคมีกว่า 700 ชนิดภายในต้นกัญชา ซึ่งมีไฟโตแคนนาบินอยด์และเทอร์ปินอยด์เป็นส่วนผสมหลักที่ออกฤทธิ์ ขอแนะนำอย่างยิ่งให้อ่านงานวิจัยเกี่ยวกับเภสัชวิทยากัญชาโดย อีธาน รุสโซ นายแพทย์จากไฟเทกส์ และ จาฮาน มาร์คู (Phytecs and Jahan Marcu) เพื่อรับทราบข้อมูลในเชิงลึกถึงความรู้เกี่ยวกับสารประกอบเหล่านี้ ในบรรดาสารประกอบกว่า 700 ชนิดนี้สารไฟโตแคนนาบินอยด์เป็นตัวที่เรียกความสนใจจากนักวิจัยได้มากที่สุด



ตามที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ ร่างกายสร้างสารแคนนาบินอยด์ของตัวเองในรูปเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในทางตรงกันข้าม สารไฟโตแคนนาบินอยด์สร้างขึ้นโดยต้นกัญชาในรูปของกรดคาร์บอกซิลิกอย่าง THCA, CBDA และอื่นๆ เมื่อให้ความรู้ผ่านการสูบ การทำให้เกิดไอระเหย การปรุงอาหาร หรือแม้แต่การเก็บไว้ที่อุณภูมิห้องเป็นเวลานานพอสมควร กรดไฟโตแคนนาบินอยด์เหล่านี้จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปทางเคมีที่เป็นกลางและเป็นที่รู้จักกันมากกว่า อันได้แก่ THC, CBD ฯลฯ ด้วยกระบวนการที่เรียกว่าการดึงคาร์บอนไดออกไซด์ THC ที่เป็นกลางถือเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทตัวสำคัญที่ผลิตโดยกัญชา ไฟโตแคนนาบินอยด์ค่อนข้างไม่มีพิษและต้องใช้ยาในขนาดที่ทำให้เสียชีวิตในปริมาณสูงมากๆในมนุษย์ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่เคยพบการเสียชีวิตจากการใช้สารแคนนาบินอยด์เกินขนาดโดยตรง


กระทั่งเมื่อไม่นานนี้ สารไฟโตแคนนาบินอยด์หมายถึงเฉพาะสารแคนนาบินอยด์ที่ผลิตโดยต้นกัญชา อย่างไรก็ตาม ได้มีการค้นพบว่าสารประกอบที่ผลิตพืชชนิดอื่นซึ่งรวมถึง ไลเคน โคไพบา และแม้แต่พริกไทยดำ ก็ทำปฏิกิริยากับตัวรับแคนนาบินอยด์เช่นกัน ดังนั้น คำจำกัดความของสารไฟโตแคนนาบินอยด์ได้หมายรวมถึงสารประกอบพืชจากธรรมชาติใดๆ ที่ทำปฏิกิริยากับตัวรับแคนนาบินอยด์


ในช่วงกว่า 100 ปีที่ผ่านมา มีสารแคนนาบินอยด์เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่คิดว่าเป็นสารประกอบที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของกัญชาเท่านั้น แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานักวิจัยได้พยายามที่จะทำความเข้าใจว่าเหตุใดผู้ใช้จึงอ้างว่ากัญชาสมุนไพรสายพันธุ์ต่างๆปรากฏว่าให้ผลทางยาหรือผลต่อจิตประสาทที่แตกต่างกัน คำอธิบายหนึ่งสำหรับความแปรผันนี้คือการเสริมฤทธิ์กันระหว่างสารแคนนาบินอยด์จากน้ำมันหอมระเหยของกัญชา ที่เรียกว่า สารเทอร์ปินอยด์ หรือ เทอร์ปีน


โดยขณะนี้เชื่อกันว่าสารแคนนาบินอยด์และเทอร์ปีนที่ทำงานประสานกันเป็นตัวที่ทำให้เกิดความแตกต่างของผลทางยาและผลต่อจิตประสาทที่กัญชาสายพันธุ์ต่างๆผลิตขึ้น เรียกว่า "เอ็นทูราจเอ็ฟเฟ็กต์" นักวิจัยเอลิซาเบธ วิลเลียมสัน (Elizabeth Williamson) ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเสริมฤทธิ์กัน ระหว่างสารพฤกษเคมีในการสร้างสิ่งที่เธอบรรยายลักษณะของผลว่าเป็น "ปืนลูกซองสมุนไพร" ซึ่งตรงกันข้ามกับ "กระสุนวิเศษ" ที่สัมพันธ์กับความเป็นโมเลกุลเดี่ยวในสูตรยาทั่วไป



สารไฟโตแคนนาบินอยด์


จากการวิจัยอย่างครอบคลุมในปี 2016 พบว่าได้มีการจำแนกสารไฟโตแคนนาบินอยด์ที่ผลิตโดยกัญชากว่า 200 ชนิด แม้ว่ามีเพียงไม่กี่ชนิดที่ผลิตในปริมาณมากและส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่เกิดจากการสลายตัวของกลุ่มเคนนาบินอยด์หลักสี่กลุ่ม ดังนี้

  • THC (เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอยด์)

  • CBD (แคนนาบินอยด์)

  • CBG (แคนนาบิเจอรอล)

  • CBC (แคนนาบิโครมีน)

สารแคนนาบินอยด์ตัวที่ห้าคือ CBN (แคนนาบินอล) มักถูกอ้างถึงในฐานะสารแคนนาบินอยด์ตัวหลัก อย่างไรก็ตาม CBN ไม่ได้ผลิตมาจากพืช แต่เป็นผลผลิตจากการสลายตัวของ THC เมื่อสัมผัสกับออกซิเจนเป็นเวลาประมาณหนึ่ง มีหลักฐานอันชัดเจนที่ชี้ให้เห็นว่า เทอร์ปีน เบต้า-แคริโอฟิลลีน ที่ผลิตโดยกัญชา (และพืชชนิดอื่นอีกหลายชนิด) ทำหน้าที่เป็นสารไฟโตแคนนาบินอยด์เช่นกัน


เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล / THC : กรดเดลต้า-9-เตตร้าไฮโดรแคนนาบิโนลิก หรือ เดลต้า-9-THCA เป็นสารไฟโตแคนนาบินอยด์ที่พบมากที่สุด ซึ่งผลิตโดยกัญชาที่ใช้เป็นยาสายพันธุ์ยอดนิยม จากการคัดเลือกสายพันธุ์ยอดนิยม จากการคัดเลือกสายพันธุ์มาหลายสิบปี ในวันนี้มีกัญชาเป็นยาไม่กี่สายพันธุ์ที่สามารถผลิต THCA ได้มากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ภายในยอดดอกแห้ง ซึ่งเป็นปริมาณที่น่าทึ่งของเมตาบอไลต์ทุติยภูมิตัวเดี่ยวๆ ที่มีพืชผลิตได้ การผลิต THCA ภายในต้นกัญชาเกิดขึ้นเมื่อ เอนไซม์เดลต้า-9-เตตร้าไฮโดรแคนนาบิโนลิกแอซิดซินเทสไปเร่งการสร้างพันธะโควาเลนต์คาร์บอน-คาร์บอนพันธะเดี่ยวภายในโมเลกุลในกรดแคนนาบิเจอโรลิก (CBGA) แล้วจึงสังเคราะห์เป็น THCA ซึ่ง THCA ไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมาจนกว่าความร้อนและเวลาจะเปลี่ยนกรดนี้ไปเป็น THC ที่อยู่ในรูปที่เป็นกลางซึ่งออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท โดยปกติแล้ว กระบวนการดึงคาร์บอนไดออกไซด์ของ THCA ไปเป็น THC เกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์ดังนั้นจะตรวจพบทั้ง THC และ THCA ในเซรั่มน้ำในช่องปาก ปัสสาวะ และอุจจาระของผู้ใช้กัญชา


THC เป็นมากกว่าสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เป็นสารที่มีฤทธิ์แรงในการต้านการอักเสบและบรรเทาปวด เป็นสารที่มีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาท และลดแรงดันลูกตาอาการหดเกร็ง และความตึงของกล้ามเนื้อ THC ทำปฏิกิริยากับตัวรับทั้ง CB1 และ CB2 ของจีโปรตีนเอ็นโดแคนนาบินอยด์ นอกจากนี้ THC ยังกระตุ้นตัวรับกำพร้า GPR 55 และ TRPV1 ซึ่งเป็นตัวรับช่องไอออน TRP ที่รับรู้ความร้อน การกระตุ้นตัวรับช่องไอออนสามารถยับยั้งได้ด้วย THC ตัวรับช่องไอออนมักจะเปิดรูในผิวของผนังเซลล์และปล่อยให้แคลเซียมหรือโพแทสเซียมไอออนที่ไหลผ่านรูเหล่านี้เกิดเป็นกระแสไฟฟ้า การกระตุ้นตัวรับช่องไอออนภายในเซลล์เริ่มต้นได้เร็วกว่าการกระตุ้นตัวรับของจีโปรตีนอย่าง CB1 และ CBD2 มาก ช่องแคลเซียมไอออนแบบ T-type เป็นช่องไอออนที่กระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าต่ำซึ่งปรากฏอยู่ในเซลล์ประสาทส่วนกลาง ช่องเหล่านี้ทำงานในการเอาชีวิตรอดและการลุกลามของโรคมะเร็งหลายแบบ โดยที่การกลายพันธุ์ในช่องเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับอาการชักแบบเหม่อลอยที่พบได้บ่อยในโรคลมชักบางแบบ


ขณะที่ THC ไม่เป็นพิษ แพทย์บางรายได้ระบุถึงผลอันไม่พึงประสงค์ของการได้รับ THC เกินขนาดในปริมาณมากเกินไปว่าเป็น "พิษต่อจิตประสาท" ตัวอย่างเช่น THC เกินขนาดในปริมาณมากเกินไปในผู้ใช้มือใหม่สามารถทำให้เกิดอาการตื่นตระหนก วิตกกังวล กล่อมประสาท และหัวใจเต้นเร็ว แม้ว่าโดยปกติแล้วผลข้างเคียงเหล่านี้ส่วนใหญ่จะลดลงในช่วงของการรักษา ขนาดที่สูงของ THC เมื่อเวลาผ่านไปจะเชื่อมโยงกับการลดจำนวนของตัวรับ CB จากการคัดเลือกลง (ส่งผลให้ความหนาแน่นของตัวรับเหล่านี้ลดลง) และการดื้อต่อฤทธิ์ของ THC เมื่อเร็วๆนี้ THCA ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในรูปกรดของ THC ได้รับความสนใจจากนักวิจัย อาจพิสูจน์ได้ว่า THCA เป็นยาที่มีประสิทธิภาพ แต่การที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทเป็นตัวหนุนให้มีความเชื่ออย่างผิดๆ ว่า THCA มีประโยชน์ด้านการรักษาจำกัด ความจริงคือ THCA เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอย่างยิ่ง โดยมีสรรพคุณที่ใช้ในการต้านการอักเสบ การเสริมสร้างภูมิต้านทาน ปกป้องเซลล์ประสาท และต้านเซลล์มะเร็ง คำอธิบายสำหรับกลไกการออกฤทธิ์ของ THCA ยังไม่ออกมา แต่อีธาน รุซโซได้สันนิษฐานว่า THCA อาจมีปฏิกิริยาทางชีวภาพได้มากกว่าในสภาวะของโรคที่แนวกั้นในการเกิดชีวประสิทธิผลถูกกดไว้ CB1 ดูเหมือนว่าการทดลองล่าสุดแสดงให้เห็นว่า THCA เข้าแทนที่สารประกอบแคนนาบินอยด์สังเคราะห์ที่ติดฉลากสารกัมมันตรังสีซึ่งจับอยู่กับ CB1 ที่ความเข้มข้นใกล้เคียงกันและจำเป็นสำหรับ THC ในการเข้าแทนที่สารแคนนาบินอยด์สังเคราะห์ตัวเดียวกัน


แคนนาบิไดออล / CBD : กรดแคนนาบิไดโอลิก หรือ CBDA เป็นสารไฟโตแคนนาบินอยด์ที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งผลิตโดยกัญชาสายพันธุ์เพื่อเส้นใย (กัญชง) และจากความพยายามในการเพาะพันธุ์ CBDA ได้กลายมาเป็นกรดที่พบได้บ่อยขึ้นในกัญชาสายพันธุ์ที่ใช้เป็นยา CBDA เปลี่ยนไปเป็น CBD ด้วยความร้อนเมื่อเวลาผ่านไป โดยกระบวนการดึงคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกับกรดแคนนาบินอยด์ที่พืชสร้างขึ้นทุกตัว การทดสอบก่อนการศึกษาทางคลินิกในสัตว์แสดงให้เห็นว่า CBDA แสดงให้เห็นผลดีในการรักษาเพื่อต้านอาการคลื่นไส้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาการคลื่นไส้ที่เกิดจากการเรียนรู้ซึ่งรักษาได้ยาก CBDA ผลิตจากสารตั้งต้น CBGA โดยแอนไซม์เช่นเดียวกับ THCA แต่เป็นเอนไซม์ที่ต่างกันคือ แคนนาบิไดออลิกแอซิดซินเทส การศึกษาวิจัยชิ้นล่าสุดชี้ให้เห็นว่ายีนที่รับผิดชอบต่อเอนไซม์ซินเทสของ CBD นี้มีมาก่อนวิวัฒนาการของยีนที่ผลิตเอนไซม์ซินเทสของ THC ซึ่งหมายความว่า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง บรรพบุรุษกัญชาผลิต CBD เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม สมมิฐานนี้ไม่ได้รับการยืนยันและรอให้มีการจัดลำดับสายพันธุ์กัญชาที่หลากหลายรุ่นต่อไปเพื่อเป็นการยืนยัน มีการสันนิษฐานว่า CBDA ซินเทสมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยน CBGA มากกว่า THCA ซินเทส ซึ่งอาจอธิบายถึงความหมายหายากของสายพันธุ์ที่ผลิตทั้ง THC และ CBD ที่มี CBD น้อยกว่า THC


ร้านยาหลายแห่งกล่าวอ้างอย่างผิดๆ ว่ากัญชาสายพันธุ์ indica มีปริมาณ CBD สูงกว่าสายพันธุ์ sativa แม้ว่าสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีใบกว้างบางสายพันธุ์จากอัฟกานิสถานและปากีสถานจะผลิต CBD แต่ต้นเหล่านี้ไม่ได้ถูกคัดเลือกให้นำไปยังฝั่งตะวันตก เพราะการคัดเลือกนี้ให้ความสนใจที่ปริมาณ THC เสมอ สายพันธุ์ใบกว้างเกือบทุกสายพันธุ์ที่คิดชื่อ indica ในร้านยาจะไม่มี CBD หรือมีในปริมาณน้อยมาก ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปริมาณ CBD นี้ขยายไปถึงการกล่าวอ้างแบบผิดๆ ว่า CBD เป็นตัวที่ทำให้เกิดฤทธิ์ระงับประสาทของกัญชาสายพันธุ์ที่ใช้เป็นยา ขณะที่ CBD ออกฤทธิ์เพียงอ่อนๆ หรือกระตุ้นในปริมาณน้อยและปานกลาง ฤทธิ์ระงับประสาทที่ผู้ป่วยสูดดมกัญชาสมุนไพรสายพันธุ์ที่มี CBD สูงรับรู้ได้นั้น เป็นไปได้ว่าเกิดจากการมีเมอร์ซีนที่ผลิตโดยเกือบทุกสายพันธุ์เหล่านี้ในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปลูกใต้แสงอาทิตย์


กระทั้งปี 2009 พบสายพันธุ์กัญชาที่มี CBD สูงได้น้อยมากที่ร้านในสหรัฐอเมริกาการร่วมมือกันทดสอบเชิงวิเคราะห์กัญชามีเพิ่มขึ้น ทั้งการทำงานของกลุ่มสนับสนุนอย่าง Project CBD และการทำงานของผู้ปลูกอย่าง Wade Laughter และ Lawrence Ringo รวมๆ กันส่งผลให้กัญชาสายพันธุ์ที่มี CBD กลับคืนมา กัญชาสายพันธุ์ที่มี CBD สูง / THC ต่ำที่แพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบันคือ เอซีดีซี (ACDC) และชาร์ลอตต์ส เว็บ (Charlotte's Web) แม้กระนั้น ลายพิมพ์สารพันธุกรรมบ่งชี้ว่าสองสายพันธุ์นี้เกือบจะเป็นแบบเดียวกัน แม้ CBD จะไม่ทำให้มึนเมา ผู้ป่วยที่ใช้กัญชาสมุนไพรที่มี CBD สูง / THC ต่ำสังเกตได้ถึงฤทธิ์ที่คล้ายกับการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอย่างอ่อนๆ ทว่าต่างจากกัญชาที่มี THC อย่างมากในแต่ละบุคคล ฤทธิ์ต่อจิตประสาทนี้อาจมาจากปฏิกิริยาของเทอร์ปีน / CBD ที่ยังรอการทำความเข้าใจ


ในสูตรยากัญชาที่รวม THC กับ CBD ไว้ด้วยกันอย่าง Sativex® พบว่า CBD สามารถขจัดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์บางอาการของ THC ทำการปรับฤทธิ์ต่อจิตประสาทและลดอุบัติการณ์การเกิดผลระงับประสาท อาการวิตกกังวล และอาการหัวใจเต้นเร็วที่เกิดจาก THC การเสริมฤทธิ์กันนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความสามารถของ CBD ในการทำหน้าที่เป็นตัวเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาเชิงลบที่บริเวณอัลโลสเตอริกของ THC ที่ตัวรับ CB1 โดยที่ CBD เข้าไปขัดขวางความสามารถในการกระตุ้นตัวรับนี้ของ THC ซึ่งเป็นการยืนยันถึงการเสริมฤทธิ์กันนี้ในการศึกษากับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอาการปวดซึ่งยากที่จะรักษา ส่วนผสม CBD และ THC ของยาช่วยบรรเทาอาการปวดลงอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ THC เพียงอย่างเดียวไม่บรรเทาอาการปวด CBD แสดงฤทธิ์บรรเทาปวดและต้านการอักเสบในหลายอาการและหลากสภาวะ นอกจากนี้ CBD ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพมาก การศึกษาระดับเซลล์แสดงให้เห็นว่า CBD ยังเกิดผลกับเซลล์สมอง เซลล์เต้านม และเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆ ของมนุษย์ในหลอดทดลอง ในขณะเดียวกันก็ปกป้องเซลล์ปกติไปพร้อมๆกัน CBD และโพรพิลในสกุลเดียวกันอย่าง CBDV เป็นยากันชักที่มีประสิทธิภาพ


CBD เป็นลิแกนด์ที่ประกอบไปด้วยหลายองค์ประกอบอย่างเหลือเชื่อ แม้จะมีความหมายแฝงอยู่ แค่หมายความว่า CBD ทำปฏิกิริยากับตัวรับที่หลากหลายมาก และมากกว่า THC ซึ่งเป็นคำอธิบายถึงผลที่ครอบคลุม CBD ไม่เพียงทำปฏิกิริยากับตัวรับ CB1 และ CB2 แต่ยังทำปฏิกิริยากับตัวรับแคนนาบินอยด์จีโปรตีนตัวอื่นๆ อย่าง GPR18 และ 55 และ ตัวรับวานิลลอยด์ TRPV1 ปฏิกิริยาเหล่านี้อาจนำไปสู่การรักษาสภาวะต่างๆ ตั้งแต่โรคหลอดเลือดสมองจนถึงการเป็นสิวด้วย CBD นอกเหนือจากตัวรับเอ็นโดแคนนาบินอยด์แล้ว CBD ยังไปกระตุ้น ยับยั้ง และปรับระดับของตัวรับและช่องไอออนหลายตัว ซึ่งรวมถึงตัวรับอะดีโนซีน ตัวรับไกลซีน และตัวรับ 5-HT1A จากงานวิจัยชิ้นล่าสุด CBD ยังไปทำปฏิกิริยากับตัวรับอัลฟา-1-อะดรีโนเซพเตอร์ ตัวรับโดปามีน D2 ตัวรับ GABA-A ตัวรับ µ - และเดลต้า-โอปิออยด์ อีกทั้ง CBD ยังมีสรรพคุณในการยับยั้งการเติบโตของเชื้อสแตปฟีโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ที่ดื้อต่อยาเมธิซิลิน (MRSA ซึ่งเป็นสายพันธุ์แบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ) เป็นไปได้ว่าอาจมากกว่ายาแวนโคมัยซิน


เมื่อสกัด CBD จากกัญชา ปัญหาหนึ่งคือ CBD ปริมาณเล็กน้อยอาจหมุนเวียนหรือเปลี่ยนไปเป็น THC เมื่อพยายามที่จะควบคุมปริมาณ THC ที่ให้กับผู้ป่วยเด็กซึ่งได้รับ CBD กระบวนการทำโมเลกุลให้เป็นวงหรือไซไคลเซซันนี้จะต้องได้รับการควบคุมด้วยความระมัดระวังเมื่อผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เมื่อเร็วๆนี้ มีการอ้างว่า CBD อาจหมุนเวียนเข้าสู่ THC เมื่อมีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด คำกล่าวอ้างเหล่านี้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิจัยบางคนที่อ้างว่ากระบวนการไซไคลเซซันดังกล่าวนี้เป็นไปได้ พร้อมมีหลักฐานยืนยันความคิดนี้จากนักวิจัยทั้งหมด ขณะที่นักวิจัยบางคนไม่ได้ให้ความสนใจกับความคิดนี้


แคนนาบิเจอรอล / CBG : กรดแคนนาบิเจอโรลิก หรือ CBGA เป็นสารแคนนาบินอยด์ที่มีฤทธิ์บรรเทาปวดไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมา ซึ่งเป็นสารแคนนาบินอยด์ที่พบมากที่สุดเป็นอันดับสามที่ผลิตโดยต้นกัญชารองจาก THCA และ CBDA แคนนาบิเจอรอลเป็นสารตั้งต้นของแคนนาบินอยด์ที่เอนไซม์ของต้นกัญชาใช้ในกระบวนการชีวะสังเคราะห์ของ THC, CBD และ CBC กัญชาที่เป็นยาไม่กี่สายพันธุ์เท่านั้นที่มี CBGA ในปริมาณมากเหลืออยู่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ กระนั้นก็ยังพบ CBGA สะสมอยู่ในกัญชงสายพันธุ์เพื่อเส้นใยมากกว่าในกัญชาสายพันธุ์ที่ใช้เป็นยา เมื่อถูกดึงคาร์บอนไดออกไซด์โดยการให้ความร้อนและเวลา CBGA จะเปลี่ยนเป็น CBG


กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ยังไม่มีการศึกษาถึงการนำ CBG มาใช้เพื่อสรรพคุณทางการรักษาในระดับเดียวกับการศึกษา THC และ CBD การวิจัยก่อนการศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า CBG เป็นตัวกระตุ้นความอยากอาหารที่แรงตัวหนึ่ง แม้ในสัตว์ที่เพิ่งได้รับอาหาร หลักฐานจากข้อมูลก่อนการศึกษาทางคลินิกยังสนับสนุนว่า CBG มีสรรพคุณในการรักษาภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกที่เกิดจากเคมีบำบัด การศึกษาของอิตาลีก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า CBG มีสรรพคุณในการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease หรือ IBD) ในหนูทดลอง CBG มีลักษณะที่ไม่เหมือนใครในหมู่สารแคนนาบินอยด์หลัก เพราะโดยมากจะไปทำปฏิกิริยากับตัวรับอื่นๆ หลายตัวนอกจากตัวรับของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ CBG ยังเป็นสารที่มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อและต้านจุลชีพที่น่าสนใจ เนื่องด้วยเป็นสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีฤทธิ์แรงมากต่อเชื้อก่อโรคอย่าง MRSA อีกทั้ง CBG ยังอาจมีประโยชน์ในด้านสรรพคุณต้านเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งในช่องปากบางประเภท มักพบ CBG ในปริมาณที่มากกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ในสายพันธุ์สวีตสกังค์ (Sweet Skunk) ที่สืบสายพันธุ์มาจากสายพันธุ์สกังค์นัมเบอร์วัน (Skunk #1) ของนักเพาะพันธุ์ เดวิด วัตสัน (David Watson) อย่างพินเซอร์ ครีค (Pincher Creek), กรีนแคร็ก (Green Crack), ไอซ์แลน์สวีตสกังค์ (Island Sweet Skunk) และสายพันธุ์ที่มีโอซิมีนสูงสายพันธุ์อื่นๆ


*เดี๋ยวโพสหน้าจะมาเสนอความรู้เกี่ยวกับกรด CBC และ CBN ต่อนะคะ

 
อ้างอิงจาก : CANNABIS PHARMACY “กัญชาทางการแพทย์” เขียนโดย ไมเคิล แบกเกส, แปลโดย จารวี นิพนธ์กิจ (หน้าที่ 68-74)
ดู 14 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page