top of page
magic mushroom02.jpeg

ไซโลไซบิน

เป็นสารหลอนประสาทที่พบในกลุ่มเห็ดไซโลไซบินกว่า 200 ชนิด โดยเฉพาะเห็ดสกุล Psilocybe ไซโลไซบินเป็นสารแอลคาลอยด์ที่มีสูตรเคมีคือ C12N17N2O4P ละลายในน้ำ เมทานนอลและเอทานอล ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น คลอโรฟอร์มและปิโตรเลียมอีเทอร์ ไซโลไซบินบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นผลึกรูปเข็มสีขาว กลิ่นคล้ายเอมโมเนียอ่อนๆ มีจุดหลอมเหลวประมาณ 220-228 องศา ซ. ไซโลไซบินส่งผลต่อจิตประสาทคล้ายกับแอลเอสดี เมสคาลีนและดีเอ็มที อาการทั่วไปได้แก่ ภาวะเคลิ้มสุข ประสาทหลอนและการรับรู้ที่ผิดเพี้ยน อาจะมีอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้หรือตื่นตระหนก

(ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)

ทำความรู้จักกับ ไซโลไซบิน หรือ เห็ดขี้ควาย...

            มีหลักฐานภาพวาดบนหินในประเทศสเปนและแอลจีเรียที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ใช้ไซโลไซบินมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในเมโสอเมริกา มีการใช้ไซโลไซบินในพิธีกรรมทางจิตวิญญาณ ในปี ค.ศ. 1959 อัลเบิร์ต ฮอฟมานน์ นักเคมีของบริษัทยาแซนดอส สกัดไซโลไซบินจากเห็ดชนิด Psilocybe mexicana ทำให้มีการใช้ไซโลไซบินกันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา

          ไซโลไซบินออกฤทธิ์ต่อบุคคลแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด ปริมาณและสรีรวิทยาของผู้ได้รับ ช่วงทศวรรษที่ 1960 ทิโมธี เลียรี นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดทำการทดลองจนพบว่า เมื่อใช้ไซโลไซบินเข้าสู้ร่างกายจะเปลี่ยนรูปเป็นไซโลซิน ซึ่งส่งผลต่อตัวรับเซโรโทนิน ในสมองที่ควบคุมอารมณ์และการรับรู้ โดยทั่วไป ไซโลไซบินจะออกฤทธิ์นาน 2-6 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านั้นเนื่องจากไซโลไซบินส่งผลให้การรับรู้เวลาผิดเพี้ยน การครอบครองไซโลไซบินถือเป็นความผิดในหลายประเทศ คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศจัดไซโลไซบินอยู่ในสารควบคุมประเภท 1 สำหรับประเทศไทยจัดไซโลไซบินอยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518

(ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย)

​หลายคนอาจรู้จัก "เห็ดเมา" ในชื่ออีกชื่อคือ "เห็ดขี้ควาย" หรือ "เห็ดวิเศษ"

แต่ที่ต่างประเทศ เช่นที่ อเมริกา, แคนนาดา หรือ แม็กซิโก อาจะเรียกเป็น

อย่างอื่นแทนคำตรงตัว คำว่าอะไรบ้าง ดูตามด้านล่างนี้ได้เลย...

  • Magic Mushrooms [แม-จิก, มัช-รูม] เห็ดวิเศษ

  • Shrooms [ชรูมส] เห็ดเมา (เรียกแบบรวบๆ, คำนี้ได้ยินบ่อยที่สุด)

  • Boomers [บูม-เมอร์ส]

  • Zoomers [ซูม-เมอร์ส]

  • Mushies [มูชช-ชี่ส์]

  • Simple Simon [ซิมเพิ่ล-ไซม่อน]

  • Little Smoke [ลิ้ดเติ้ล-สโม้ก]

  • Sacred Mushrooms [ซ๊ะเครท-มัช-รูม]

  • Purple Passion [เพอร์เพิ่ล-แพชชั่น]

  • Mushroom Soup [มัช-รูม-ซุป]

  • Cubes [ควีปส]

(ข้อมูลจาก : https://www.medicalnewstoday.com/articles/308850#effects)

ชื่อเรียกอื่นๆที่ชาวต่างชาติเรียกกัน...

pilocy.jpeg
GT01.jpeg
เห็ดเมา / เห็ดขี้ควาย / เห็ดวิเศษ

งานวิจัยชี้สารหลอนประสาทใน "เห็ดวิเศษ" อาจบรรเทาอาการซึมเศร้าได้...

          15 เมษายน 2021 

ผลที่ได้จากงานวิจัยขั้นต้นชี้ว่าสารที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทไซโลไซบิน (psilocybin)

ซึ่งพบในเห็ดขี้ควายหรือ "เห็ดวิเศษ" ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ดีพอๆ

กับตัวยาที่แพทย์แผนปัจจุบันใช้กันอยู่

แต่เมื่อพิจารณาถึงเรื่องของการชีวิตที่ดีขึ้น และความสามารถที่จะรู้สึกถึงความสุข

งานวิจัยซึ่งยังทดลองกับคนจำนวนไม่มากนี้

ชี้ว่าสารที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทจากเห็ด ให้ผลที่ทรงพลังกว่า

ในปัจจุบันมีการศึกษาว่าสารหลอนประสาทจะมีผลต่อสุขภาพจิตในรูปแบบต่างๆ

อย่างไรบ้างแต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าผลการวิจัยนี้ได้จากการทดลองขนาดเล็กๆ

และยังต้องทำการวิจัยต่อไปอีก

ตั้งแต่ยาโพรแชค (Prozac) ออกวางตลาดเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

ยารักษาอาการซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวลตัวใหญ่ๆ

ที่ออกตามมานั้นไม่ได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการรักษาไปจากเดิมมากนัก

อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ยาหลายคนต้องเผชิญกับอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์

เช่น ยาหมด ประสิทธิภาพเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก หรือไม่ได้ผลเลยตั้งแต่เริ่มใช้

สำหรับการทดลองล่าสุดนี้มีเข้าร่วม 59 คน นักวิจัยแบ่งอาสาสมัครออกเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มหนึ่งได้รับสารหลอนประสาทไซโลไซบิน

อีกกลุ่มหนึ่งได้รับยารักษาอาการซึมเศร้าที่ใช้กันทั่วไป

ที่เรียกว่าเอสเอสอาร์ไอ (selective serotonin reuptake inhibitor - SSRI)

นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยเกี่ยวกับสารที่ฤทธิ์หลอนประสาท

อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน (Imperial College London) ได้ตรวจสอบสภาวะทางอารมณ์

และการทำงานของร่างกายของผู้เข้าร่วมการทดลองโดยใช้เกณฑ์หลายอย่างด้วยกัน

สำหรับเกณฑ์ที่ใช้วัดอาการซึมเศร้านั้นเน้นไปที่เรื่องของการนอนหลับ

ความกระตือรือร้นอารมณ์ และความคิดอยากฆ่าตัวตาย

โดยคำถามที่ใช้ถามอาสาสมัครจะเป็นไปในเชิงลบ

เช่น รู้สึกเศร้าหรือไม่ ไม่ใช่คำถามว่ามีความสุขหรือไม่

ซึ่งหากวัดกันตามเกณฑ์นี้ สารหลอนประสาทไซโลไซบินทำงานได้ดีพอๆ

กับยารักษาอาการซึมเศร้าทั่วไปที่ชื่อว่าเอสซิตาโลแพรม

โดยผู้เข้าร่วมวิจัยทั้ง 59 คน มีความรู้สึกหดหู่ลดลงในระดับที่ใกล้เคียงกัน

แต่หากพิจารณาตามเกณฑ์อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ประเด็นหลักของงานวิจัยชิ้นนี้

นักวิจัยพบว่าสารหลอนประสาทไซโลไซบินมีประสิทธิผลดีกว่ามาก

ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการทำงาน การมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม สุขภาพจิต

และความสามารถที่จะรู้สึกมีความสุข

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นหนึ่งในงานวิจัยชิ้นแรกๆ ที่เปรียบเทียบประสิทธิผลของสารที่ออกฤทธิ์หลอนประสาท

กับยารักษาอาการซึมเศร้าทั่วไป และผู้ที่เข้าร่วมการทดลองไม่ได้มีเพียงผู้ที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ

แล้วไม่หายเท่านั้น แต่ยังรวมผู้ที่มีอาการหดหู่ปานกลางไปจนถึงหนักด้วย

อย่างไรก็ดี กาย กู้ดวิน ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด

บอกว่า งานวิจัยนี้ไม่ได้ถือเป็นผลสำเร็จอย่างก้าวกระโดด

เพราะยังไม่ได้มีการทดลองแบบเต็มรูปแบบ

และก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าสารหลอนประสาทไซโลไซบินรักษาภาวะซึมเศร้าได้ดีกว่า

"อย่างไรก็ดี มันให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า [สารหลอนประสาทไซโลไซบิน] อาจจะดีกว่าก็ได้"

งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ว่าสารออกฤทธิ์หลอนประสาทอาจะเป็นทางเลือกในการการรักษาอาการหดหู่กลัดกลุ้มกังกล อาการติดสุราหรือสารเสพติด และอาการร่วมอื่นๆ

ศ.กู้ดวิน เสริมด้วยว่างานวิจัยนี้เน้นย้ำให้เห็นประเด็นที่กว้างออกไปในการศึกษาเรื่องภาวะซึมเศร้า

ซึ่งมักจะวัดกันที่อาการบางชนิด แทนที่จะวัดสภาวะทางอารมณ์ที่เป็นบวก และความเป็นอยู่ที่ดีของคนไข้

(ข้อมูลจาก : BBC NEWS | ไทย)

[ลิ้งค์ : https://www.bbc.com/thai/international-56757996]

ข้อแตกต่าง เมจิกทรัฟเฟิน กับ เมจิกมัชรูม

Differences between Magic Truffle and Magic Mushroom

เติบโตใต้ดิน สร้างสาร Psilocybe ขึ้นจากใต้ดิน โตขึ้นมาเป็นหัว ลักษณะก้อนๆ คล้ายๆ แห้ว การโตใต้ดิน ทำให้รอด ในสภาพอากาศเลวร้าย น้ำท่วม ร้อนจัด

เมจิกทรัฟเฟิน ให้ปริมาณสารที่เสถียร มั่นคง ออกฤทธิ์ยาวนานกว่า ประมาณ 3-6 ชั่วโมง

Magic Truffle

เติบโตบนดิน เริ่มพัฒนาสาร Psilocybe เมื่อต้นเริ่มขึ้นพ้นดิน ลักษณะเหมือนเห็ดทั่วไป มีหมวกเห็ด ต้นเห็ด

เมจิกมัชรูม ไม่มีความเสถียรของสาร อาจจะมาแรง มาไม่ค่อยเท่ากัน และออกฤทธิ์ไม่ยาวนานเหมือนทรัฟเฟิน

Magic Mushroom

การใช้เห็ดเมจิกทรัฟเฟิล

อันตรายหรือไม่

หลายคนกังวลว่าจะเสียชีวิตไหมหากใช้เห็ดเกินขนาด จงจำไว้ว่า...

เห็ดปลอดภัยที่สุด เหล้าและบุหรี่อันตรายกว่าเห็ดเมา

bottom of page