top of page
ค้นหา

กรณีศึกษาที่น่าสนใจในกลุ่มพาร์กินสัน และอัลไซเมอร์

THE CASE STUDY


เภสัชกรหญิงอาสาฬาอธิบายว่า จากประสบการณ์การจ่ายยากัญชาในผู้ป่วยพาร์กินสันพบว่ามีผู้ป่วยที่ทั้งเห็นผลและไม่เห็นผล แต่กลุ่มที่ใช้แล้วอาการดีขึ้นจะมีมากกว่า โดยช่วยลดอาการสั่น เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ลดอาการเกร็ง นอนหลับดีขึ้น


"เรามีเคสผู้ป่วยอายุ 68 ปี เป็นพาร์กินสันมานาน 7 ปี ใช้ยาพาร์กินสันแผนปัจจุบันอยู่ 4 ชนิด แต่ก็ยังเห็นผลการรักษาได้ไม่ดีเท่าที่ควร หลังมาปรึกษาที่คลีนิกกัญชาอภัยภูเบศร ได้รับยาสูตร 10% CBD ความแรงประมาณ 3 มิลลิกรัมต่อหยด เริ่มต้นที่ 1-2 หยดก่อนนอน แล้วปรับยาจนถึงปัจจุบันใช้อยู่ 3 หยดต่อวัน คิดเป็น CBD ประมาณ 9 มิลลิกรัมต่อวัน"


"ผลในการรักษาค่อนข้างน่าพอใจ เห็นผลเรื่องการเดินขึ้นชัดเจน ผู้ป่วยเดินได้ไกลขึ้น อาการเกร็งลดลง ลูกผู้ป่วยบอกว่าพ่อพูดได้ชัดขึ้นและเร็วขึ้น ลูกๆฟังแล้วเข้าใจดีขึ้นกว่าเดิม อาการสั่นลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้ป่วยรู้สึกว่ายากัญชาทำให้ยาแผนปัจจุบันออกฤทธิ์ได้นานขึ้น จากเดิมที่รู้สึกว่ายาจะหมดเร็วกว่าตอนก่อนใช้ยากัญชา"


"อีกเคสที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยหญิงเป็นพาร์กินสันตั้งแต่อายุน้อย (Young-onset Parkinson's) ปกติผู้ป่วยพาร์กินสันจะเป็นผู้สูงอายุ เพราะโรคนี้เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลาง"


"ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นพาร์กินสัน เริ่มรักษาตอนอายุประมาณ 31 ปี แพทย์ประสาทวิทยาผู้ดูแลนัดเข้าคลินิคกัญชาตอนอายุ 37 ปี เนื่องจากหลังรักษามาประมาณ 6 ปี อาการของโรคก็ยังไม่ดีขึ้น มีอาการตัวแข็งเกร็ง บางครั้งก้าวขาไม่ค่อยออก"


"ก่อนมารับยากัญชาคนไข้ใช้ยาพาร์กินสันอยู่ทั้งหมด 3 ชนิดหนึ่งในนั้นคือยาหลัก Levodopa ที่เมื่อผ่านเข้าสู้สมองแล้วจะกลายเป็นสารสื่อประสาทโดพามีน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวให้ทำงานได้ดีขึ้น"


"เคสนี้น่าสนใจเพราะเป็นผู้ป่วยมีการรับขนาดยาไปจนถึงวันละ 8 เม็ดและเริ่มมีปัญหายาหมดฤทธิ์ไว มีอาการตัวแข็งเกร็งเร็วขึ้นก่อนกินยามื้อถัดไป อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงจากยาอีกชนิด คือ คลื่นไส้มากทำให้ใช้ยาขนาดสูงไม่ได้"


"แพทย์ของเราจึงพิจารณาเพิ่มยากัญชาเข้าไปในแผนการรักษา เพื่อหวังผลควบคุมอาการให้ดีขึ้นโดยจ่ายยาสูตร 10% CBD เริ่มจาก 1 หยดก่อนนอน หลังใช้ยาไปเดือนแรก ผู้ป่วยบอกว่านอนหลับดีขึ้น หลับได้ยาวขึ้น ไม่ตื่นกลางดึก เดือนที่ 2 ปรับเป็น 2 หยด ถึงเดือนที่ 3 ปรับเป็น 3 หยด โดยให้เช้า 1 หยด ก่อนนอน 2 หยด คุณภาพการนอนยังดีอยู่แต่อาการของโรคยังไม่ดีขึ้น และยังอยู่ในช่วงการปรับยากัญชา"


"ส่วนกรณีอัลไซเมอร์ ทางโรงพยาบาลยังไม่ได้มีการจ่ายยากัญชาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เนื่องจากหลักฐานงานวิจัยยังไม่ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสาร THC ก่อให้เกิดผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการหลงลืมระยะสั้น"


"อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยเบื้องต้นพบว่าสารในกัญชามีฤทธิ์ปกป้องสมอง (neuroprotection) และการใช้กัญชาในผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นในแง่ของการช่วยนอนหลับ ลดอารมณ์ก้าวร้าว ช่วยให้ผู้ป่วยอารมณ์สงบลง แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยระยะยาว รวมถึงยังขาดข้อมูลในส่วนของสูตรยาและขนาดการใช้ที่ชัดเจนในของแต่ละบุคคล"


นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างจากประเทศออสเตรเลีย

แลรี่ สมิต, ผู้ที่ทำงานอยู่ในด้านกฎหมายมานาน 26 ปี เขาได้ต่อสู่กับโรคพาร์กินสันมาเป็นเวลา 20 ปี ในขณะที่โรคของแลรี่ลุกลามและแย่ลง ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เขาได้เสาะหาวิธีการรักษาทุกวิถีทางเพื่อบรรเทาอาการของเขา


หนึ่งในทางเลือกสุดท้าย แลรี่และภรรยาของเขาได้เดินทางไปที่เมืองซานดิเอโก เพื่อลองใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นครั้งแรก เรื่องจากกัญชาไม่ถูกกฎหมายในรัฐบ้านเกิดของพวกเขา


อาการของแลรี่นั้นเด่นชัดมาก เขามีปัญหาในการเดิน พูดลำบาก และเจ็บปวดอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่เขาพยายามควบคุมอาการสั่นอย่างรุนแรง


หลังจากได้หยดน้ำมันกัญชาเพียงหยดเดียวใต้ลิ้นของเขา โดยสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปนั้นช่างเหลือเชื่อจริงๆ เพราะนี่อาจเป็นหนทางสู่การรักษาโรคได้ในอนาคต ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาทีที่หยดน้ำมันไปใต้ลิ้นนั้น ร่างกายของแลรี่ก็ค่อยๆผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ และหยุดสั่นในที่สุด เขาสามารถกลับมาสื่อสารได้ปกติ และหายจากความเจ็บปวดโดยสิ้นเชิง


นี่คือวีดีโอเต็มของการใช้น้ำมันกัญชาของแลรี่...


 

อ้างอิงจากหนังสือนิตยสาร ชีวจิต ฉบับเดือน SEPTEMBER 2022 (หน้า 111) เขียนโดย ศิริกร โพธิจักร.


รูปภาพจาก :

ดู 11 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page