การสูดดมกัญชาลดความรุนแรงของอาการปวดหัว 47.3% และลดความรุนแรงของอาการไมเกรนได้ถึง 49.6% อ้างอิงจากงานวิจัยล่าสุดโดยแคร์รี่ คัทเลอร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สเตท
งานวิจัยถูกตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Pain ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จากผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวและไมเกรนที่ใช้กัญชา งานวิจัยก่อนหน้านี้ได้สอบถามผู้ป่วยเพื่อนึกถึงผลของการใช้กัญชาในอดีต ซึ่งมีการทดลองทางคลินิกชิ้นหนึ่งที่ยืนยันว่าสารในกัญชานั้นได้ผลมากกว่ายาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ในการรักษาอาการแต่การทดลองนั้นใช้ยานาบิโลน (Nabilone) หรือยาสังเคราะห์ชนิดแคนนาบินอยด์
คัทเลอร์กล่าวว่า พวกเรามีแรงบันดาลใจในการทำงานวิจัยชิ้นนี้เพราะหลายคนยืนยัน ว่าพวกเขาใช้กัญชาสำหรับอาการปวดหัวและไมเกรนแต่แปลกมากที่มีงานวิจัยน้อยชิ้นที่จะวิจัยเรื่องนี้
ดังนั้นนักวิจัยจึงวิเคราะห์ข้อมูลจากแอปพลิเคชันสเตรนพริน (Strainprin) ที่ๆ ผู้ป่วยจะสามารถติดตามอาการก่อนและหลังการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ โดยข้อมูลถูกส่งโดยผู้ป่วย 1,300 คนที่ใช้แอปฯ มากกว่า 1,200 ครั้งเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของอาการและผู้ป่วยจำนวน 653 ใช้แอปฯ มากกว่า 7,400 ครั้งเพื่อติดตามความรุนแรงของอาการไมเกรน
คัลเลอร์และทีมไม่พบหลักฐานที่ชี้ว่ากัญชาส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวเนื่องจากการใช้ที่มากเกินไป สิ่งที่พวกเขาพบคือยิ่งผู้ป่วยใช้โดสใหญ่นานเท่าไหร่ พวกเขาก็จะสร้างภูมิต้านทานต่อกัญชา
งานวิจัยยังพบว่าการรักษาด้วยกัญชามีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างเพศโดยเพศชายพบว่ากัญชาช่วยลดอาการปวดมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย อีกทั้งนักวิจัยก็พบว่าน้ำมันกัญชาช่วยลดอาการปวดหัวมากกว่าดอกกัญชา
อย่างไรก็ตามพวกเขาไม่พบความแตกต่างของการรักษาระหว่างสายพันธุ์ที่มีระดับสาร THC และ CBD ที่สูงกว่าหรือต่ำกว่า นี่อาจเป็นเพราะกัญชามีสารแคนนาบินอยด์มากกว่า 100 ชนิดซึ่งสรุปได้ว่าสารแคนนาบินอยด์ชนิดต่างๆ หรือส่วนผสมอื่นๆ อย่างเทอร์ปีนก็มีบทบาทสำคัญในการลดอาการปวดหัวและไมเกรน
หนึ่งในข้อจำกัดของงานวิจัยนี้คือการกรอกข้อมูลอาการผ่านแอปฯ ด้วยตนเองของผู้ป่วยทำให้อาจเกิดความลำเอียงเพราะความคาดหวังก่อนการใช้กัญชาว่ากัญชาจะช่วยลดอาการปวด

อ้างอิงจาก : Line Openchat "หลักสูตรคลีนิคกัญชาทางการแพทย์" (เวลา 22:02น.)