top of page
ค้นหา

ข้อสำคัญควรรู้กับการบริโภค “กัญชา”

หลังจากที่มีข่าวปลดล็อคกัญชาออกมาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมานั้น ทำให้กระแสของ "กัญชา" ดังขึ้นมาในช่วงค่ำคืนวันนั้น ทำให้ผู้คนหันมาสนใจพืช "กัญชา" เป็นอย่างมาก แต่ก็มีหลากหลายข่าวที่ออกข่าวมาว่า "กัญชา" นั้นส่งผลเสียหรือมีผลกระทบยังไงบ้าง บทความนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับฤทธิ์ของการบริโภคอาหารหรือขนมที่มีส่วนผสมของกัญชา


โดยปกติสายเขียวอย่างพวกเรา จะมีวิธีการใช้กัญชาหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการสูบจากบ้องไม้ไผ่, บ้องแก้ว, Gravity บ้อง, หยดน้ำมันกัญชา, one-hitter (อุปกรณ์จุดสูบแบบพกพา), และอื่นๆอีกหลายรูปแบบ แต่ก็มีอีกรูปแบบนึงที่หลากหลายคนที่ไม่ใช่สายควัน อยากรู้อยากลอง "กัญชา" จึงเลือกวิธีการบริโภคโดยรับประทานแทน


แต่หารู้ไม่ !! กัญชาในรูปแบบการกิน มีฤทธิ์ที่รุนแรงกว่าการสูบกัญชาอีกหลายเท่า !


สายเขียวที่มีประสบการณ์หลายคนทราบดีว่า การรับประทานอาหารหรือขนมที่มีส่วนผสมของกัญชานั้นมีฤทธิ์รุนแรงกว่ากัญชาในรูปแบบสูบมาก และยังออกฤทธิ์ยาวนานกว่าในรูปแบบการสูบอีกด้วย นั่นก็เป็นเพราะว่าหลังจากที่เรารับประทานอาหาร/ขนมที่มีส่วนผสมของกัญชาเข้าไปนั้น หลังจากที่กลืนลงไปแล้วสารเดินทางไปสู่ระบบทางเดินอาหารเป็นจุดแรก และในที่สุดสาร THC และแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) อื่นๆจะถูกดูดซึมและเผาผลาญบางส่วนโดยตับก่อนที่จะเข้าสู่กระแสเลือด และเดินทางไปยังสมอง


กระบวนการดูดซับสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) นี้ช้ากว่าการสูบเป็นอย่างมาก นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าถ้าหากรับประทานอาหาร/ขนมที่มีส่วนผสมของกัญชาแล้ว อาจใช้เวลาถึง 1-2 ชั่วโมงจึงจะออกฤทธิ์เต็มที่ และฤทธิ์จะอยู่ในร่างกายเราได้นานระหว่าง 4 ถึง 12 ชั่วโมงเลยทีเดียว


อย่างไรก็ตาม การบริโภคกัญชาโดยการรับประทานมักส่งผลให้การดูดซึมของสาร THC โดยรวมน้อยลง เนื่องจากการดูดซึม THC ที่ลดลง แล้วอะไรหละ ที่ทำให้การบริโภคกัญชาในรูปแบบอาหาร/ขนมจึงทำให้มีฤทธิ์ที่รุนแรงกว่าการสูบ?


11-Hydroxy-THC



ทฤษฎีหนึ่งชี้ไปที่ 11-hydroxy-THC ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการเผาผลาญที่สร้างขึ้นเมื่อ THC ในอาหารที่กินได้ของคุณจะผ่านทางเดินอาหารและตับของคุณ เอ็นไซม์เมตาบอลิซึม (Metabolic Enzymes) ปรับเปลี่ยนและสลายสารประกอบในอาหารที่เรากิน ผลพลอยได้จากการเผาผลาญของกระบวนการนี้มักจะทำงานน้อยกว่าโมเลกุลเดิม อย่างไรก็ตาม ในกรณีของ 11-Hydroxy-THC จริงๆแล้วเมตาโบไลต์ (Metabolite) มีศักยภาพมากกว่า THC ต้นกำเนิดของมัน


จากการศึกษาในช่วงต้นเปรียบเทียบผลกระทบของ THC และ 11-hydroxy-THC นักวิจัยพบว่าเมื่ออาสาสมัครได้รับปริมาณเทียบเท่าหนึ่งมิลลิกรัม (1 milligram) ทางหลอดเลือดดำของสารประกอบทั้งสองชนิด 11-hydroxy-THC ส่งผลให้เริ่มมีอาการเร็วขึ้นและมีอาการทางจิตเวชที่เข้มข้นกว่า THC


นอกจากนี้ มีการประเมินว่าเมแทบอลิซึม (Metabolism) ที่ผ่านการใช้ในรูปแบบรับประทานจะมีฤทธิ์ที่รุนแรงกว่าการสูบผ่านช่องลม นี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมการรับประทานอาหาร/ขนมที่มีส่วนผสมของกัญชาในปริมาณเท่ากับการสูบจึงมีฤทธิ์ที่รุนแรงมากกว่าการสูบ


ผลประโยชน์ที่ได้จากการรับประทานอาหาร/ขนมที่มีส่วนผสมของกัญชา

การรับประทานอาหาร/ขนมที่มีส่วนผสมของกัญชาจะมีฤทธิ์ที่คาดเดาได้ยาก และมีฤทธิ์ที่รุนแรงกว่าการสูบ กัญชาในอาหารก็มีประโยชน์ไม่แพ้รูปแบบอื่นเลย การรับประทานอาหารหรือขนมที่มีส่วนผสมของกัญชาในปริมาณที่กำลังดี และไม่มากจนเกินไป (สำหรับส่วนใหญ่จะเลือกหั่น 1/4 ชิ้นมาเพื่อชิมก่อนแล้วรอประมาณ 1-2 ชั่วโมงจนกว่าจะออกฤทธิ์) ผลประโยชน์ที่มีจากการทานนั้นมีทั้งช่วยในเรื่องการนอนหลับ ผ่อนและคลายกล้ามเนื้อ แต่จะมีการมึนเมา หรือเคลิบเคลิ้มที่เนิ่นนานกว่าการสูบหลายสิบเท่าเลยทีเดียว


แท้จริงแล้ว...กัญชา รับประทานได้ หรือ ไม่?


คำตอบคือ... ได้ !


ในความเป็นจริงตามประวัติศาสตร์แล้ว กัญชาถูกนำมาใช้ตั้งแต่ยุคสมัย 1000 ปีก่อนคริสตกาลอีก


นอกจากนั้น กัญชา ยังถูกใช้ในสมัยราชวงศ์จีน และ อินเดียถูกเผยแพร่ให้เป็นยาต่างชาติ (Western Medicine) ตั้งแต่ช่วงต้นยุคศตวรรษที่ 19 สิ่งที่มีส่วนผสมของกัญชาเช่น ทิงเจอร์ ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาโรคและอาการต่างๆ จากอาการปวดเรื้อรังไปจนถึงความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร


ประโยชน์สุดท้าย ผลิตภัณฑ์กัญชาที่บริโภคได้ยังใช้เพื่อบรรเทาความเครียด และกระตุ้นให้เกิดความอิ่มเอิบใจ คล้ายกับแอลกอฮอล์ แต่จะไม่มีผลเสียที่รุนแรงเท่าแอลกอฮอล์


ถึงแม้ว่ากัญชาในรูปแบบการรับประทานจะส่งผลเสียทางสุขภาพได้น้อยที่สุด แต่ก็ควรศึกษาและทำการทดลองฤทธิ์ของอาหารและขนมก่อนนำออกมาจำหน่ายหรือให้ผู้คนบริโภค เพราะผู้ที่ไม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องฤทธิ์และผลข้างเคียงอาจได้รับผลกระทบที่ทำให้ตกใจหรือไม่พอใจได้ และมาโทษกัญชา


ถ้าหากคุณได้ศึกษาและหาความรู้เกี่ยวกับ “กัญชา” มากพอก่อนที่บริโภค คุณก็จะไม่พบกับปัญหาหรือผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้


 
อ้างอิงจาก :




ดู 77 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page