top of page
ค้นหา

Exclusive Interview

Robert Connell Clark

นักพฤกษศาสตร์และนักเขียนผู้โลดแล่นอยู่ในวงการกัญชามากว่า 40 ปี

เค้าเดินทางไปรอบโลกเพื่อศึกษาวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่มีกัญชาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งศึกษาการปลูกการใช้ และการพัฒนาสายพันธุ์กัญชาต่างๆ นำมาถ่ายทอดเป็นงานวิจัย เป็นบทความและหนังสือกว่า 10 เล่ม จนได้รับการยกย่องเป็นปรมาจารย์กัญชาคนหนึ่งของโลก และในปัจจุบันหนังสือเหล่านั้นถูกหยิบใช้เป็นองค์ความรู้พื้นฐานของการศึกษากัญชาหรือแม่กระทั่งถูกหยิบมาใช้เป็นตำราที่ใช้สอนเกี่ยวกับกัญชาในระดับมหาวิทยาลัย

 


สวัสดีครับคุณ Robert วันนี้เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้มานั่งคุยกับคุณในวันนี้ครับ


Robert : ยินดีอย่างมากและผมรู้สึกดีใจที่ได้มาที่ประเทศไทยครับ


คุณ Robert ครับ ในฐานะที่คุณเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกัญชาเรามักจะได้ยินเรื่องเล่าของกัญชาว่าฤทธิ์ของมันทำลายประสาททำให้คนช้า และขี้เกียจคุณว่าคิดเห็นยังไงเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ?


Robert : แน่นอนกัญชาทำให้คนรู้สึกผ่อนคลาย เราอาจจะพูดได้ว่ามันทำคนช้าลงซึ่งบางคนอาจมองว่าสิ่งนี้คือความขี้เกียจในอีกมุมหนึ่งอาจเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพด้วยซ้ำแล้วที่บอกว่ากัญชาทำลายเซลล์ในสมองก็ยังไม่มีหลักฐานอะไรแน่ชัด ยังไงก็ตามเราเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วว่าเยาวชนไม่ควรจะดื่มแอลกอฮอล์สูบบุหรี่หรือกัญชา แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะ ผมไม่เห็นปัญหาที่ผู้คนเหล่านั้นจะใช้กัญชา ตามความจริงแล้วกัญชาเป็นสิ่งที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์สำหรับหลายๆคน มันทำให้คนเหล่านั้นสามารถโฟกัสกับสิ่งที่เค้าทำอยู่ได้กัญชาไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นสิ่งกีดขวางหรือลดประสิทธิภาพการทำงานเสมอไป... ทำลายสมองหรอ?

เรื่องนี้ผมแทบไม่มีข้อสงสัยเลยเพราะกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบ และปัญหาของกัญชาตั้งแต่ปี 1970 จนถึงทุกวันนี้ พวกเค้ายังไม่เจอปัญหาที่จะบ่งบอกได้เลย คุณก็คงคิดเองได้ว่าเงินที่สนับสนุนวิจัยนับล้านๆเหรียญที่ทำงานค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบถึงทุกวันนี้ก็ควรจะเจออะไรได้บ้าง แล้วแต่ก็ไม่ในตอนนี้ผมคิดว่ามันควรถึงเวลาที่จะหันหลังกลับแล้วมาวิจัยถึงประโยชน์ของกัญชามากกว่า มันคือโลกยุคใหม่แล้ว


ในช่วงนี้มีการวิจัยกัญชาที่ออกมาในเชิงบวกไม่น้อย คุณมีมุมมองอย่างไรบ้าง?


Robert : ในช่วงหลังงานวิจัยกัญชาออกมาเป็นเชิงสรรพคุณทางยาเป็นส่วนมาก งานวิจัยเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ยืนยันว่ากัญชาคือยาที่ดีทั้งในรูปแบบกัญชาสดโดยการสูบ การกิน รวมไปถึง สารสกัดเช่น น้ำมันกัญชาหรือใช้เป็นส่วนผสมในยาของการแพทย์แผนปัจจุบัน การประยุคใช้กัญชาในทางการแพทย์นั้นกว้างมาก กฎหมายทั่วโลกควรจะเปิดให้มีการศึกษาและใช้กัญชาเป็นยาได้แล้ว


คุณคิดว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นใหม่จะสามารถดึงกัญชากลับมาเป็นสิ่งถูกกฎหมายได้มั้ย?


Robert : ผมคิดว่าเป็นไปได้แน่นอน แต่ผมอยากจะแยกประเด็นนี้ออกเป็น 3 อย่าง อย่างแรกเป็นเรื่องของการใช้การกัญชาเพื่อความเพลิดเพลินเช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ หรือ บุหรี่ หลายประเทศได้ทำมันไปแล้วผมเชื่อว่าเราคงได้เห็นการใช้กัญชาเพื่อความเพลิดเพลินขยายวงกว้างขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าอย่างต่อไปเป็นเรื่องของยาและอาหารเสริม เรื่องยาเราได้พูดกันไปแล้ว แต่ในเมล็ดกัญชายังมีสรรพคุณทางโภชนาการซึ่งสามารถใช้เป็นยาได้เช่นกัน เมล็ดเหล่านั้นเต็มไปด้วย Fatty Acid (กรดไขมันที่จำเป็น) และสารประกอบอื่นๆที่มนุษย์ต้องการ และสุดท้ายเป็นส่วนของอุตสาหกรรมจากลำต้นและเส้นใย หรือที่เรารู้จักกันดีกว่า เฮมพ์(กัญชง) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเก่าแก่ ที่ยังสามารถอยู่ควบคู่กับระบบการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสังคมปัจจุบันได้


เราขอย้อนกลับมาพูดเรื่องส่วนตัวของคุณบ้าง


Robert : ได้เลย


อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้คุณหันมาวิจัยและเขียนหนังสือเกี่ยวกับกัญชา?


Robert : ผมเขียนวิทยานิพนธ์ของผมในปี 70 เกี่ยวกับกัญชา และภายหลังได้กลายเป็นหนังสือที่มีชื่อว่า "The botany and ecology of Cannabis" (พฤกษาศาสตร์และนิเวศวิทยาของกัญชา) การจบมหาวิทยาลัยเป็นแรงจูงใจในการทำงานของผม ตอนนั้น ผมได้แรงบันดาลใจจากหนังสือที่ชื่อว่า "Man and Marijuana" เป็นหนังสือที่สืบหาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และกัญชา เขียนโดย Mark David Merlin ซึ่งตอนนี้เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย เค้าเขียนเรื่องนี้เป็นวิทยานิพนธ์ ในระดับปริญญาโท ตอนที่เค้าเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย Santa Barbare ที่แคลิฟฟอร์เนีย นั่นเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมเริ่มศึกษาเกี่ยวกับพืชศาสตร์และนิเวศวิทยาของกัญชา


งานเขียนเกี่ยวกับกัญชาในมหาวิทยาลัยของคุณดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตคุณ


Robert : มันเป็นประสบการณ์ที่พลิกชีวิตผมไปเลยก็ว่าได้ เมื่อตอนที่ผมได้รู้ถึงปริมาณข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับพืชชนิดนี้ น่าจะเป็นช่วงเมื่อ 40 ปีที่แล้วช่วงที่ผมเป็นนักศึกษาพฤกษศาสตร์และกำลังเตรียมตัวที่จะเป็นนักวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพืชผมได้พบว่ากัญชาเป็นพืชที่มีประโยชน์มากที่สุดในโลกและผมก็ตกหลุมรักมัน นั่นน่าจะเป็นประสบการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตผม


งานเขียนของคุณเต็มไปด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยที่หลากหลายคุณเอาข้อมูลมาจากไหน?


Robert : เอาตามตรงในช่วงแรกๆข้อมูลในหนังสือของผมเป็นข้อมูลที่หาได้ตามห้องสมุดหรืออินเตอร์เนททั่วไปแต่ผมได้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นหมวดหมู่มาไว้ในหนังสือของผมก่อนที่ผมจะเริ่มทำการศึกษาด้วยตัวเอง ความตั้งใจของผมคืออยากจะให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ไปสู่ผู้คนให้มากยิ่งขึ้น


หนังสือของคุณดูโดดเด่นมากในวงการนี้คุณคิดว่าอะไรที่ทำหนังสือของคุณโดดเด่นกว่าหนังสือเล่มอื่นๆ


Robert : ผมคิดว่าความแตกต่างที่สำคัญคือการเรียบเรียงข้อมูลมากมายจากแหล่งที่มาที่แตกต่างกันได้อย่างลงตัว ผมพยายามเสมอที่จะใช้ข้อมูลที่สดใหม่จากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือและการคัดกรองข้อมูลอย่างเข้มงวดทำให้หนังสือของผมได้รับการยอมรับ


ได้ยินมาว่าในการวิจัยกัญชาของคุณ คุณได้เดินทางไปตามสถานที่มากมายทั่วโลก คุณช่วยแบ่งปันเรื่องราวเหล่านี้กับเราได้มั้ย?


Robert : ผมไปมาเยอะมาก ได้เรียนรู้วิธีการผลิตกัญชาในรูปแบบต่างๆจากหลายประเทศ ผมประทับใจมาก ในเอเซียผมเคยทำงานเป็นนักผสมพันธุ์กัญชาในจีนและเวียดนาม ผมได้ทำการทดลองผสมพันธุ์และปลูกเฮมพ์ตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อหาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจร่วมกับกระทรวงเกษตรและบริษัทเอกชนในการเดินทางของผม ผมกลายเป็นคนที่สนใจเรื่อง สิ่งทอจากใยเฮมพ์ และวัฒนธรรมการทอผ้าแบบดั้มเดิม จนผมเริ่มสะสมของเหล่านั้นเป็นงานอดิเรก


คุณอยู่ในวงการกัญชามานาน คุณน่าจะได้ทราบถึงเรื่องกัญชาในประเทศไทยบ้าง?


Robert : แน่นอนครับ


คุณช่วยเล่าประวัติศาสตร์กัญชาในประเทศไทยให้เราฟังหน่อยได้ไหมครับ?


Robert : กัญชาในประเทศไทยนี่มีประวัติศาสตร์ที่เข้มข้นมาก ในอดีตกัญชาในประเทศไทยถือเป็นพืชที่ใช้เพื่อการแพทย์ แต่เรื่องของการใช้เส้นใยนั้นยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในหมู่คนไทย ยกเว้นชนเผ่าที่อยู่บนที่สูงที่เรียกว่าชนเผ่าม้งเท่านั้น ในช่วงสงครามเวียดนาม ทหารอเมริกันเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย ในสมัยนั้นกัญชาของไทยคือกัญชาที่แรงและมีคุณภาพสูงอย่างไม่น่าเชื่อ ผมเชื่อว่าถ้ากัญชาไทยในสมัยนั้นยังอยู่ วันนี้ประเทศไทยคงมียาที่มีคุณภาพสูงเป็นแน่ ในช่วงปี 1970 กัญชาไทยเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าทหารอเมริกันเป็นอย่างมาก จนมีการลักลอบส่งกัญชาไทยกลับไปขายที่อเมริกาเรียกว่า "Thai Stick" สมัยนั้น Thai Stick คือกัญชาที่คุณภาพดีที่สุดในตลาด แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่กัญชาไทยเหล่านั้นได้สูญหายไปแล้ว


เป็นไปได้ไหมที่ Thai Stick จะกลับมา?


Robert : กัญชาเป็นพืชที่ต้องการความเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาคุณภาพ การปล่อยต้นกัญชาทิ้งไว้ตามธรรมชาติ สายพันธุ์แท้เหล่านั้นจะถูกผสมจนเสื่อมคุณภาพ ถ้าประเทศไทยจะนำ Thai Stick กลับมาเพื่อใช้ในทางการแพทย์ หรือขยายผลเชิงพานิชได้ ผมคิดว่าจะต้องมีหน่วยงานเพื่อดูแลการผสมพันธุ์ที่จริงจังเพื่อจะให้ได้สายพันธุ์ดั้งเดิม ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปได้


สุดท้ายคุณพอจะแนะนำเราเกี่ยวกับการนำพืชกัญชากลับมาสู่สังคมไทยได้ไหมครับ?


Robert : จงฟังคำแนะนำต่างๆจากภายนอก แล้วหาวิธีจัดการกับมันด้วยวิถีของตนเอง นี่คือประเทศของพวกคุณ วัฒนธรรมของคุณ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น มันอาจจะต้องใช้เวลานานหน่อย แต่พวกคุณที่ยังมีกำลัง มีความสามารถและมีกำลังใจที่จะค้นคว้าหาข้อมูล ผมรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมากกับระดับความทุ่มเทของกลุ่มพวกคุณ ทุกคนที่นั่งอยู่ทั้งหมดในตอนนี้ คุณคืออนาคตข้างหน้า ผมช่วยคุณได้แต่คุณต้องเป็นคนเปลี่ยนแปลงมัน


ขอบพระคุณและเป็นเกียรติสำหรับพวกเราอย่างมากครับ คุณ Robert Clark


(บทสัมภาษณ์ โดย Alex Blin)


 
หนังสือของ Robert Connell Clark

- The botany and ecology of Cannabis (1977)

- Marijuana Botany : The Propagation and Breeding of Distinctive Cannabis by Robert Connell Clarke, Clarke and Cherlyn - Lee (Jun 15 1981)

- Cannabis evolution (1987)

- Hanf (ภาษาเยอรมัน) (Apr 1 1997)

- Hashish! Robert Connell Clarke, Mel Frank and Jason King (Jun 19 1998)

- Hemp Diseases and Pests : Management and Biological Control : an Advanced Treatise by John Michael McPartland, Robert Connell Clarke and David Paul Watson (September 2000)

- Haschisch : Geschichte, Kultur, Inhaltsstoffs, Genuss, Heilkunde, Herstellung (2000)

- The Cannabible by Jason King and Robert Connell Clarke (Oct 1 2001)

- La botanique du cannabis (ภาษาฝรั่งเศษ) (2004)

- Cannabis : Evolution and Ethnobotany (2013)


 

อ้างอิงรูปภาพจาก :

ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page