top of page
ค้นหา

ปลูกกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต

ปัจจุบันพืชกัญชงควบคุมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ภายใต้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงต้องขออนุญาตและมีการควบคุมกำกับดูแลตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ เป็นการขอขออนุญาตปลูกเพื่อประโยชน์จากเส้นใยเท่านั้น


คุณสมบัติของผู้ที่จะขออนุญาตปลูก : หน่วยงานของรัฐ


วัตถุประสงค์ในการขอรับใบอนุญาตปลูก : สำหรับใช้ในครัวเรือน / ใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม / ในเชิงพาณิชย์ / การศึกษาวิจัย / ผลิตเมล็ดพันธุ์รับรองสำหรับจำหน่าย


การยื่นคำขอ : กรณีต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ / สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

ในท้องที่ปลูก

: กรณีกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอ ณ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหาร

และยา



ทั้งนี้ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างรายได้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร และพัฒนา นวัตกรรม เทคโนโลยีการใช้กัญชา กัญชง และพืชสมุนไพรในทางการแพทย์ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ของประชาชน นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงบทบัญญัติบางประการของกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. 2559 และขณะนี้ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) อยู่ในระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา


อนาคตหากกฎกระทรวงฉบับใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว จะสามารถตอบสนองความต้องการที่จะพัฒนาให้กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ พัฒนาเทคโนโลยีการใช้กัญชงในทางอุตสาหกรรม ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากส่วนอื่นของกัญชง (Hemp) นอกจากเส้นใย และนำไปแปรรูปและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง หรืออาหาร


คุณสมบัติของผู้ที่จะขออนุญาตปลูก : หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย


วัตถุประสงค์ในการขอรับใบอนุญาตปลูก :ใช้ประโยชน์จากเส้นใยตามวัฒนธรรมและใช้ในครอบครัว / เชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม / ทางการแพทย์ /การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์ / ในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง / ภารกิจอื่นของหน่วยงานของรัฐ



 
บทความอ้างอิงโดย : กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563) และ website : https://www.medcannabis.go.th/blog/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95
ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Commentaires


bottom of page