top of page
ค้นหา

ความรู้ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ก่อนการใช้กัญชาทางการแพทย์

  1. กัญชาหรือน้ำมันสกัดจากกัญชา เป็นยาที่มีสารออกฤทธิ์ผสม ไม่ใช่ยาเดี่ยวๆ แบบยาปัจจุบัน เป็นสารที่ปกติคนเราผลิตใช้อยู่แล้วในร่างกาย ผลิตมาเพื่อควบคุมการทำงานตามปกติ รวมทั้งใช้ซ่อมสร้างส่วนต่างๆของตนเองได้ เมื่อเกิดการบกพร่อง ซึ่งภาวะขณะนั้นทำให้ต้องรับกระตุ้นจากกัญชา เพื่อช่วยเข้าไปกระตุ้น ตัวรับในร่างกาย ที่เชื่อมทั้งในสมองและระบบประสาทในทุกๆระบบ เรียกว่า...ระบบ Endocannabinoid System (ECS) กระตุ้นให้ร่างกายรักษาตัวเอง ฉะนั้นเมื่อผู้ป่วยทานกัญชา / น้ำมันสกัดจากกัญชา ที่เราเรียกว่า Phytocannabinoids เข้าไปแล้ว ร่างกายจะตอบสนองด้วยการกระตุ้นกัญชาในธรรมชาติให้ซ่อมสร้างสิ่งที่บกพร่อง ช่วยให้ผู้ป่วยหลับสนิทต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพ


  1. การสกัดนำ้มันจากกัญชามีหลายแบบที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วโลกมีอาทิ : 2.1) สกัดด้วย แอททิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) 2.2) สกัดด้วย แนพธา (Naphtha) 2.3) บีบอัดแยกเอาน้ำมันด้วยเครื่องอัดร้อน (Heat Rosin Press) 2.4) สกัดด้วย คาร์บอนไดออกไซด์เหลว (CO2) 2.5) สกัดด้วยการต้มในน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (Cold Press Coconut Oil) 2.6) สกัดด้วยน้ำ ใช้ความร้อน ชง ต้ม สตีม (Boil / Steam) 2.7) สกัดด้วยการบีบเย็นกับเมล็ดธัญพืช นำน้ำมันกัญชาออกมา

  2. การสกัดที่แตกต่างกันจะได้สารประกอบจากกัญชาที่แตกต่างกันก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมี "สูตรสำเร็จจำเพาะ" (Formula Specific) หรือกระทั่ง "สายพันธุ์พิเศษ" (Strain Specific) เสมอไป แต่ความจำเพาะเหล่านี้จะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพได้เร็วขึ้นและสมบูรณ์ขึ้น ประกอบกับสภาพร่างกายที่ไม่เหมือนกันดังนั้นการรักษาต้องปรับปริมาณการใช้ให้เหมาะสมกับตนเองเสมอเริ่มแต่น้อย ค่อยๆเพิ่มปริมาณ ต้องทดสอบและควรมีผู้ที่มีความรู้ด้านกัญชาช่วยให้คำแนะนำในการรักษาเสมอ

  3. สามารถใช้กัญชากับร่างกายทางใดได้บ้าง : 4.1) นำ ช่อดอกสด 3 ดอก ปั่นผสมน้ำผลไม้ แยกกาก ทำน้ำชีวจิตดื่มทุกเช้า 4.2) นำ ราก ต้น ดอก ใบ ล้างสะอาด บดหยาบ ผึ่งแห้ง ชงเป็นชาดื่ม 4.3) นำ ราก ต้น ดอก ใบ ล้างสะอาด ผึ่งแห้ง บดละเอียด ผสมยาอื่นตามตำหรับยาของแพทย์แผนไทย 4.4) นำ ช่อดอก ผึ่งแห้ง บดหยาบ มามวนสูบเพื่อใช้ในการรักษาโรค 4.5) สกัดเป็นน้ำมันกัญชา ผสมน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ตามสูตรของหมอแต่ละท่าน ใช้หยดใต้ลิ้น หยอดหู คอ จมูก เหน็บทวาร 4.6) นำน้ำมันสกัดกัญชา มาผสม ครีม/บาล์ม/วาสลิน ทาที่แผล บริเวณที่ปวด หรือมีก้อนมะเร็ง มีอาการอักเสบอยู่

  4. การใช้น้ำมันสกัดจากกัญชาที่ไม่ถูกทาง อาจทำให้ผู้ที่รับยามีอาการ : 5.1) ความดันของเลือดตกลง ชีพจรผิดปกติ 5.2) น้ำตาลในเลือดตกลง 5.3) วิงเวียน เมา มึนศีรษะ 5.4) ลมกรองละเอียดขึ้น ผะอืดผะอม อาเจียน 5.5) หิว อยากอาหารหวานๆ 5.6) คอแห้ง กระหายน้ำ 5.7) สำลักน้ำลายที่มีส่วนผสมของน้ำมันกัญชา ทำให้ไอหนักมาก 5.8) หวิว เป็นลม หมดเรี่ยวแรง มีอาการเสมือน 'ใจจะขาด'

  5. การเตรียมตัวที่ดี การมีแพทย์ที่ให้การรักษาช่วยแนะนำ อาจป้องกันอาการตามข้อ 5) ข้างต้นได้ แต่ถ้าไม่มีแพทย์อยู่ใกล้ตัว ก็จำเป็นต้องเตรียมตัวเองให้ดี 6.1) ในกรณีที่ไม่ทราบว่าอาการที่ประสบเกิดจากโรคชื่ออะไรชัดเจน การใช้กัญชาถ้ายังคุมอาการที่เป็นไม่ได้ในระยะ 3-4 สัปดาห์ ต้องพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุให้ได้ 6.2) ถ้าทราบสาเหตุแล้วก็ตาม และกัญชามีสรรพคุณได้ในโรคนั้นๆ แต่ก็ยังไม่ได้ผล (ควบรวมกับแพทย์แผนปัจจุบัน) แสดงว่าต้องตรวจสอบที่มาของกัญชาและวิธีใช้ การใช้ปริมาณมากไปทำให้ไม่ได้ผลได้ 6.3) ต้องทราบยาปัจจุบันที่ใช้ร่วม เมื่อใช้กัญชา มีความจำเป็นต้องหยุดยาที่ไม่จำเป็นออก และระวังยาที่ยังจำเป็นต้องใช้เพราะเมื่อใช้กัญชาเมื่อได้ผล จะทำให้โรคนั้นๆ ดีขึ้น ทำให้ต้องลดยาลง เช่นเบาหวาน ความดันสูง ก็ต้องลดขนาดยาลงตามความเหมาะสม 6.4) ถ้าวิงเวียน เมา มึนศีรษะ แสดงว่าระดับยาที่หยดใต้ลิ้นไม่เหมาะสมกับร่างกาย 6.5) ถ้าอาเจียน = อาหารไม่เหมาะสม ย่อยไม่ได้ ให้ปรับอาหารให้อ่อนขึ้น ทานน้อยลง รับยาเว้นช่วงจากการรับประทานอาหารสัก 1 ชม. 6.6) การหยดยาใต้ลิ้นให้นั่งเอนขึ้น 30-45 องศาเสมอ ห้ามนอนราบให้ยา จะทำให้สำลัก 6.7) ต้องเตรียมสไปรท์ไม่แช่เย็น 1 ขวด + เกลือเม็ดไว้ ใช้แก้น้ำตาลตก หรือความดันตก หรือเมื่อทั้งสองอย่างตกพร้อมกัน ผู้ป่วยจะมีอาการวิงเวียน หน้ามืดเหมือนจะเป็นลม หัวใจเต้นช้าลง และกลายเป็นความดันตก มีอาการหวิว โหย เหมือนใจจะขาด ถ้าความดันตก หน้าซีดคล้ายจะเป็นลม ให้เอาเกลือเม็ดอมใต้ลิ้น พอเกลือละลายก็ให้บ้วนทิ้ง ถ้ายังไม่ดีขึ้น ให้อมเกลือใต้ลื่นต่อจนความดันปกติ หายหวิว 6.8) ปริมาณของน้ำมันสกัดกัญชาที่ใช้ในการบำรุงรักษาระดับ Cannabinoids ในตัว ผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้โรคย้อนกลับควรใช้ระดับเดียวกันกับที่ได้ทดลองความเหมาะสม ตามข้อ 7.2) ให้หยด/ทานเพียงมื้อเดียวก่อนนอน

  6. สำคัญมาก... เมื่อฤทธิ์ของกัญชากับร่างกายผู้ป่วย ผันแปร ไม่เสมอกันเหมือนกับยาแผนปัจจุบัน ต้องกำหนดวิธีการรักษาด้วยนำ้มันสกัดจากกัญชาให้มีความเหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนเสมอ อาจทำให้มีอาการได้บ้าง เช่นการสั่น แต่มักไม่รุนแรง 7.1) "การรักษาโรค" เพื่อให้ได้ผลดี ในภาวะหนึ่งภาวะใดแพทย์ผู้ให้การรักษา และผู้ป่วยพึงคำนึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้... ☛ ต้องพยายามรู้ให้ได้ว่า โรคที่เป็นนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร ☛ ขณะนี้โรคสงบแล้วหรือยัง ☛ อาการที่เป็นอยู่ขณะนี้เกิดจากผลของโรค หรือโรคกำลังลุกลามอยู่ ☛ ถ้าโรคสงบแล้ว การรักษาเป็นเพียงการบรรเทาอาการ หรือป้องกันโรคย้อนกลับ ☛ ถ้าโรคยังไม่สงบ การรักษาเป็นการบรรเทาอาการ และหยุดยั้งโรค ข้อแนะนำในการให้การรักษาด้วย "กัญชา" ทางการแพทย์ : ☛ ให้เริ่มลดขนาดยาแผนปัจจุบันที่ใช้อยู่ให้น้อยลง ไม่ใช่หยุดยาทันที เพราะอาจทำให้มีอาการผันผวนของสุขภาพแบบเฉียบพลันได้ ☛ ใช้กัญชาร่วมด้วยขนาดที่ร่างกายรับได้ เริ่มแต่น้อย เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ให้ทดลองความเหมาะสมของยาที่ได้รับมา เวลาก่อนนอนทุกครั้ง (รายละเอียดตาม 7.2) ☛ ประเมินยาอื่นที่ผู้ป่วยใช้อยู่ เพราะ "กัญชา" อาจไปเพิ่มหรือลดฤทธิ์ของยานั้นๆได้ ☛ การเพิ่มขนาดของ "กัญชา" ควรค่อยๆ ทำในวันหรือสองวันถัดมา สังเกตจากปฏิกิริยาอาการตอบโต้ของผลข้างเคียง เช่น ง่วง เมา โซเซ เวียนหัว คลื่นใส้ ความดันตก ☛ ถ้ายังไม่ได้ผล ให้ค่อยๆ เพิ่มปริมาณ "กัญชา" ช่วงก่อนนอน และควรหยุดที่ 3-4 หยด ☛ ห้ามคิดว่ายิ่งใช้มากยิ่งดี ให้ใช้ "กัญชา" เพื่อปลุกระบบกัญชาธรรมชาติในร่างกายให้ทำงานรักษาโรค 7.2) ในการใช้ "กัญชาเพื่อป้องกัน รักษาโรค ให้ถูกหลัก ควรเริ่มต้นจากปริมาณที่น้อยที่สุด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ท่านเรียกว่า "กัญชาไมโครโดส" (Cannabis Micro-dose) ☛ เริ่มต้นใช้ครั้งแรก ให้ใช้ไม้จิ้มฟัน ตัดปลายแหลมออกเล็กน้อย แตะน้ำมันสกัดกัญชาพอติดปลาย แล้วนำมาแตะที่ซอกฟัน ให้ทำเวลาเย็นหรือก่อนนอน ในวันต่อๆมา ให้ค่อยๆ เพิ่มทีละน้อย (กรณีไม่มีฟัน ให้ใช้ดูดเอาก็ได้) ปรับปริมาณตามความเหมาะสม ☛ การใช้ไม้จิ้มฟัน แม้ว่าปริมาณที่ได้รับอาจไม่แน่นอน และออกฤทธิ์ช้า (อาจต้องใช้เวลา 1-4 ชม. ถึงออกฤทธิ์) แต่วิธีนี้ปลอดภัย นุ่มนวลขึ้น ไม่เมา แต่อาจไม่เห็นผลทันที โดยเฉพาะ โรคสมองเสื่อม เกร็ง หรือพาร์กินสัน ☛ เวลาใช้น้ำมันสกัดกัญชาถึงแม้จะให้แต่น้อย ก็อาจทำให้ความดันต่ำลง และ/หรือระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ในผู้ที่ความดันสูง หรือเป็นเบาหวานอยู่แล้ว จึงทำให้สามารถลดยาควบคู่ไปกับการใช้กัญชาได้ ทั้งนี้เป็นเรื่องที่น้ำมันสกัดกัญชา เข้าไปกระตุ้นการสร้างกัญชาธรรมชาติในร่างกายเฉพาะกิจ ให้ทำงานตามสั่งในช่วงเวลาที่ต้องการ ในการปรับความผิดปกติในร่างกาย กัญชาในร่างกายจะเลือกทำงานในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ☛ กัญชาจากภายนอกคือตัวกระตุ้นให้กัญชาภายในร่างกายผลิตเพิ่มขึ้น และออกฤทธิ์ปรับสมดุลในร่างกาย แบบเฉพาะเจาะจง ตามความจำเป็นของร่างกาย

 
อ้างอิงจากหนังสือ : "คู่มือการใช้กัญชา เพื่อการป้องกันรักษาโรคให้ได้ผล (หน้าที่ 24 - 28)
ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page