ยุคสมัยของกัญชา
กัญชา คือ พืชที่ออกฤทธิ์ต่อระบบจิตประสาทชนิดแรกๆที่มนุษย์เรารู้จัก นับเป็นเวลากว่าหลายพันปีที่กัญชาได้เข้าสู่สังคมมนุษย์ จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตมนุษย์ในหลากหลายฐานะ กระจายทั่วไปบนโลกเรา
การเปลี่ยนแปลงของเวลา ยุคสมัย สภาพสังคม และการปกครอง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บทบาทของพืชกัญชากับสังคมที่เปลี่ยนไป จากพืชสารพัดประโยชน์กลายเป็นวายร้ายทำลายสังคม
รูปจาก website WIX.
ยุคสมัยต้น - ยุครุ่งเรือง
หลักฐานเชื่อมโยงความสัมพันธ์มนุษย์กับกัญชาที่เก่าแก่ที่สุด คงต้องย้อนกลับไปหลายพันปี ก่อนยุคการเกิดศาสนา ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ในสมัยนั้นใช้กัญชาเพื่อเหตุผลทางด้านจิตวิญญาณ ในการประกอบพิธีกรรมบางอย่าง จากการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์อายุราว 10,000 ปี อยู่คู่กับเศษเรซิ่นของกัญชาที่หลงเหลือจากการเผาไหม้ของกองไฟ และเครื่องปั้นดินเผาบรรจุเมล็ดกัญชาไว้ที่ด้านในที่สุดของถ้ำ ในแถบเอเซียกลาง อินเดียและจีน ซึ่งสันนิษฐานว่ามนุษย์ในยุคนั้นใช้กัญชาเผาไฟที่ด้านในสุดของถ้ำ เพื่อสูดดมควันจากการเผาไหม้ของกัญชา
ในช่วงเวลา 8,000 ปีก่อนคริสตกาล ( Before Common Era หรือ BCE ) กัญชาถูกบันทึกว่าเป็นพืชไร่ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง มีการใช้ประโยชน์จากเส้นใย มีการปลูกพืชกัญชาแบบแปลงเกษตรในแถบพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นประเทศไต้หวัน และในยุคเดียวกันนั้นได้มีการบันทึกว่ามีการใช้กัญชาในตำรับยาโบราณของประเทศอินเดียอีกด้วย
6000 BCE : เมล็ดกัญชาถูกนำมาใช้เป็นน้ำมันพืชและใช้เป็นอาหารในประเทศจีน
หนังสือของโอเดส หรือ จักพรรดิ เฉิน เหนิง ของอนาจักรแผ่นดินจีน ที่ได้นำเส้นใยของกัญชง และเมล็ดมาใช้ในการทำเส้นใยเพื่อผลิตผ้า เช่นเดียวกับชาวเติร์กในยุคสมัยนั้นๆ
อีกทั้งยังมีหนังสือเพลงเก่าที่มีชื่อว่า "The Farmers eat hemp seeds in September" หรือแปลว่า "ชาวนากินเมล็ดกัญชงในเดือนกันยายน"
กัญชง เป็นส่วนหนึ่งของ หลี่ ฉี ซึ่งเป็นกลุ่มธัญพืชที่สร้างสมดุลของแหล่งอาหารจีน ได้แก่ :
ข้าวสาลี 2. ข้าว / ข้าวบาเลย์ 3. ถั่วเหลือง
2000 BCE : กัญชาเข้าไปเกี่ยวพันกับศาสนาที่เกิดในแถบทวีปเอเซียในฐานะโอสถชโลมใจ เครื่องชำระล้างจิตใจ สื่อกลางในการเข้าถึงพระเจ้า ยารักษาโรค เครื่องสักการะพระเจ้า และใช้เป็นส่วนสำคัญในพิธีกรรมทางศาสนา ฯลฯ
1800 BCE : ในประเทศอินเดีย "Bhang" "บัง" (ใบกัญชาแห้ง เมล็ด และดอก) ถูกกล่าวถึงในบันทึกลับของศาสนาฮินดูว่า เป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ซึ่งสามารถใช้เป็นยา และใช้สำหรับถวายแด่ พระศิวะ
1500 BCE : เครื่องนุ่มห่มซึ่งเป็นผลผลิตจากเส้นใยกัญชา รวมถึงการทำการเกษตรกระจายอยู่ในแถบทวีปเอเซีย และลุกลามไปถึงทางตอนใต้ของรัสเซียในภายหลัง
500 BCE : ชาวไซเทียน (Scythians) ชนเผ่าบนหลังม้ามีรกรากการเดินทางอยู่ในแถว ฮังการี มองโกเลีย เป็นชนเผ่าที่ได้เข้ามาติดต่อกับเหล่าอารยธรรมโบราณต่างๆ เช่น กรีซ อียิปต์ อินเดีย จีน มีการบันทึกว่า ชาวไซเทียน เป็นชนเผ่าที่ใช้กัญชาเพื่อผลิตเชือก ใช้เสพเพื่อความบันเทิง และใช้ในพิธีกรรมทางความเชื่อต่างๆ และเชื่อว่าชาวไซเทียนคือชนเผ่าที่นำการใช้กัญชาในด้านต่างๆเข้าสู่ยุโรป
100 BCE : ชาวจีนค้นพบวิธีการทำกระดาษจากใยของพืชกัญชาเป็นครั้งแรกของโลก และกระดาษกัญชงถูกค้นพบในสุสานราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ย้อนกลับไปเมื่อ104ปีก่อนคริสตกาล
ค.ศ. (คริสต์ศักราช) 50 พลูทาร์ค (Plutarch) : นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันเชื้อสายกรีก บันทึกว่าชาวเธรซ (Thrace) หรือชาวเมืองที่อาศัยอยู่บนเขตทางเชื่อมของพรมแดน 3 ประเทศ ได้แก่ กรีซ บัลแกเลีย และตุรกี ใช้กัญชาเพื่อความบันเทิง
ค.ศ. 70 : ไดออสคอรีตส์ (Dioscorides or Pedanius Dioscorides) แพทย์ทหารชาวกรีก ผู้เขียนหนังสือเรื่อง
De Materia Medica ตำราพืชสมุนไพรในแถบเมดิเตอร์เรเนียนที่ถือเป็นตำราทางด้านสมุนไพรรักษาโรคที่ดีที่สุดใน
ยุคนั้น ได้บรรจุกัญชาเป็นส่วนหนึ่งในตำรับยาของเขา แต่เขามีอายุที่สั้นมาก ไดออสคอรีตส์จากโลกนี้ไปในปี ค.ศ. 90. หากต้องกล่าวถึงคุณสมบัติทางยาของสารธรรมชาติกว่าพันชนิด ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดทางพฤกษศาสตร์ แต่รวมถึงยาที่มาจากสัตว์และแร่ธาตุด้วย หากเราลองเปรียบเทียบระหว่างสารยาที่ ฮิปโปคราติก โคลว์พลัส (Hippocratic Corpus) มีทั้งหมดนั้นเพียงแค่ประมาณ 130 ชนิดเท่านั้นเอง โดยขณะเดียวกัน ไดออสคอรีสต์ (Dioscorides) ได้ระบุว่ามีการใช้สมุนไพรมากกว่า 4,740 รายการในหนังสือ METERIA MEDIA ของเขา และแสดงรายการรักษาอีกกว่า 360 ชนิดเลยทีเดียว
"ไดออสคอรีตส์"
ค.ศ. 100 : ราชอาณาจักรอังกฤษได้มีการนำเข้าเชือกจากใยกัญชามาใช้ประโยชน์
ค.ศ. 130 - 200 : กาเลน (Galen) แพทย์ชาวกรีกที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ตะวันตกมาเป็นเวลานานกว่าพันปีจ่ายยาที่ทำจากกัญชา
ค.ศ. 200 : การแพทย์สมัยใหม่ได้เผยแพร่เข้าสู่จีน มีการบันทึกว่า ศัลยแพทย์ชาวจีนได้ใช้กัญชาเป็นยาชา ยาแก้ปวด
ค.ศ. 850 : ชาวไวกิ้งได้เริ่มใช้เชือก และใบเรือที่ผลิตจากใยกัญชา ทำให้เรือของชาวไวกิ้งแข็งแรง และเดินทางได้ไกลกว่าเรือของประเทศในแถบเมดิเตอเรเนียนอื่นๆ เพราะเชือกและใบเรือจากใยกัญชาของชาวไวกิ้งมีความแข็งแรงทนทานต่อการกัดกร่อนของเกลือจากทะเล เป็นเบื้องหลังความสำเร็จที่ทำให้ชาวไวกิ้งเข้าสู่ความยิ่งใหญ่ ในยุคช่วงยุคสมัยนั้น
ค.ศ. 900 : ประเทศอาหรับใต้เริ่มใช้กระดาษที่ผลิตจากเส้นใยกัญชา
ค.ศ. 1000 : เริ่มมีการถกเถียงกันทางด้านวิชาการถึงประโยชน์และโทษของการใช้กัญชา และการใช้กัญชาได้เริ่มขยายวงกว้างไปในประเทศอาหรับ
ติดตามเนื้อหาตอนต่อไปได้ในโพสหน้า 💚
ที่มาของบทความ : Highland Magazine : issue 01 ( เดือนมกราคม ปี 2016 ), หน้าที่ 13 - 15.
ที่มาของบทความ : (แปลจาก) https://greathemp.net/hemp-uses-in-ancient-china/ บทความในหัวข้อ "FOOD"
ที่มาของภาพ : https://greathemp.net/hemp-uses-in-ancient-china/
ที่มาของภาพ : https://en-academic.com/dic.nsf/enwiki/142866
ที่มาของภาพ : http://greekmedicine.net/whos_who/Dioscorides.html
ที่มาของภาพ : Andersen, Erik, Ole Crumlin-Pedersen, Søren Vadstrup & Max Vinner 1997: Roar Ege. Skuldelev 3 skibet som arkæologisk eksperiment. Roskilde.