กระดูก เป็นหนึ่งในอวัยวะที่ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ควบคุมสมดุลการทำงาน ซึ่งมีผลต่อความสมดุลของความแข็งแรงต่อกระดูก ความหนาแน่นของเนื้อกระดูก ซึ่งถ้าสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเสื่อมไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นที่กระดูก ปัจจุบันจะพบว่าภาวะเหล่านี้ นำไปสู่โรคกระดูกพรุน นอกจากนั้น ยังเกี่ยวข้องกับมะเร็งกระดูกด้วย
ซึ่งความสัมพันธ์ของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ กลายเป็นเป้าหมายใหม่ในการวางแผนการรักษาโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น รวมถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกด้วย
จากการศึกษาวิจัยนอกจากจะพบว่า สาร AEA และ 2-AG ซึ่งเป็นสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นเองได้นั้นควบคุมระบบการสร้างและสลายกระดูกให้อยู่ในสมดุล แล้วยังพบว่าสาร CBD จากกัญชายังสามารถยับยั้งกระบวนการสลายของกระดูก (Osteoclast) และกระตุ้นกระบวนการสร้างกระดูก (Osteoblast) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการออกฤทธิ์ผ่านตัวรับ GPR55
จากข้อมูลนี้ไม่ได้หมายความว่า ถ้ามีหรือใช้กัญชาเข้าไปในร่างกายแล้ว กระดูกจะไม่พรุน เพราะยังไงกระดูกก็ยังต้องการสารอาหารและแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม เพื่อนำไปใช้ในการสร้างกระดูก
เพียงแต่กัญชาหรือระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เปรียบเสมือนวิศวกรที่เป็นหัวหน้าคอยควบคุมและออกคำสั่งงานการสร้างและสลายกระดูกให้มีความสมดุล
ฉะนั้น ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ของกัญชาและกระดูก จึงมีความสำคัญต่อกันและกันมาก โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้หญิงในวัยทอง เป็นต้น
เนื้อหาอ้างอิงจาก :
1. หนังสือ "กัญชารักษามะเร็ง" เรียบเรียงโดย สมยศ ศุภกิจไพบูลย์ (หน้าที่ 93-95)
บางส่วนอ้างอิงจาก : ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
2. รูปภาพอ้างอิงจาก :
- https://www.vice.com/en/article/bnp4bv/how-and-why-your-brian-makes-its-own-cannabinoids