"กัญชา" กับ "ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์" คือ เรื่องเดียวกัน เพราะเราใช้กัญชาเพื่อให้ไปออกฤทธิ์ผ่านระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งปกติระบบนี้มีสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์เป็นของตัวเองที่ร่างกายสร้างขึ้นเองได้ แต่ด้วยปัจจัยต่างๆ ทำให้สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นไม่เพียงพอ หรือไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานให้กับร่างกาย
สารเอ็นโดแคนนบินอยด์ที่อยู่ในกัญชา ที่เรียกว่า "ไฟโตแคนนาบินอยด์" จึงสามารถเข้าไปทดแทนหรือเสริมการทำงาน หรือทำงานร่วมกันกับสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่มีอยู่ในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“กัญชา กัญชง กับระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ คือ เรื่องเดียวกัน"

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoid System) เป็นหนึ่งในระบบการทำงานของร่างกายที่พึ่งมีการค้นพบ และมีการค้นคว้าหาคำตอบเพื่ออธิบายการทำงานของระบบนี้ในร่างกาย
การค้นพบเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2533 มีการค้นพบสาร AEA หรือ Anadamine ซึ่งเป็นสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง และมีการค้นพบตัวรับ หรือ Receptor ของสารนี้ ในการเข้าไปจับและออกฤทธิ์ต่างๆในร่างกาย และพบว่าระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม

“สรุปใจความสำคัญคือ ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ คือ ระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย"
ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ทำหน้าที่อะไรในร่างกาย?
ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เป็นหนึ่งในระบบควบคุมการสมดุลของการทำงานของร่างกาย ที่มีเครือข่ายกระจายอยู่ทั่วทุกจุดในร่างกาย เป็นระบบที่พึ่งมีการค้นพบขึ้นมาใหม่ ที่พบถึงความสัมพันธ์ไม่ว่าจะในสถานการณ์ที่ปกติของร่างกาย หรือสถานการณ์ที่มีความผิดปกติจนเกิดโรคต่างๆเกิดขึ้น
บทบาทของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์จากการค้นพบในปัจจุบัน จึงถือว่ามีบทบาทที่สำคัญมากๆเพราะมีการค้นพบว่า การเจ็บป่วยต่างๆ ล้วนมีระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เข้าไปเกี่ยวข้องเสมอไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
และเนื่องจากระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ออกฤทธิ์ผ่านการควบคุมสารสื่อประสาทสำคัญๆ 2 ชนิดที่มีมากในสมองและไขสันหลัง คือ สารสื่อประสาทกลูตาเมต (Glutamate) และสารสื่อประสาทกาบา (Gamma-Aminobutyric Acid) หรือชื่อย่อว่า GABA ซึ่งสารสื่อประสาททั้งสองมีหน้าที่เด่นๆ ที่แตกต่างกันดังนี้
สารสื่อประสาทกลูตาเมต จัดเป็นสารสื่อประสาทประเภทกระตุ้น ส่วนสารสื่อประสาทกาบา จัดเป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้ง หรือจะให้เห็นภาพก็คือว่า "สารสื่อประสาทกลูตาเมต คือคันเร่งของรถ ส่วนสารสื่อประสาทกาบาคือเบรกของรถ" นั่นเอง
ซึ่งสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง หรือแม้แต่สารไฟโตแคนนาบินอยด์ที่ได้รับจากกัญชาหรือกัญชง เมื่อเข้าไปในร่างกายก็จะเข้าไปจับกับตัวรับในร่างกาย แล้วมีผลต่อการกระตุ้นหรือยับยั้งการหลั่งสารทั้งสองชนิดในร่างกายนั่นเอง
ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เปรียบเสมือนระบบควบคุมรถ ที่มีทั้งเบรกและคันเร่ง
อ้างอิงจาก : คัมภีร์กัญชง กัญชาสยบมะเร็ง! (เขียนโดย ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี)
เภสัชกรและนักกัญชาศาสตร์ที่วงการกัญชาไทยทางการแพทย์รู้จักดีที่สุด!
รูปภาพอ้างอิงจาก :